บล็อกเพื่อการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.2 โรงเรียนตากพิทยาคม
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ยกตัวอย่างผลงานที่สร้างจากซอฟต์แวร์กราฟิกมาอย่างน้อย 3 ประเภท
3. ยกตัวอย่างผลงานที่สร้างจากซอฟต์แวร์กราฟิกมาอย่างน้อย 3 ประเภท
ตอบ การสร้างงานกราฟิก ในการสร้างชิ้นงานที่ต้องมีการวาดร่างหรือตกแต่งตัดต่อรูปภาพหรือการขึ้นรูปภาพต่างๆซึ่งโปรแกรมงานด้านกราฟิก
- อะโดบีโฟโตซ็อป (Adoba Photoshop) เป็นโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ การนำภาพถ่ายมาตกแต่งเป็นภาพใหม่ เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นงานประเภทการออกแบบโปสเตอร์ การทำจุลสาร ปกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์
- กูเกิลสเก็ตช์อัป (Google SketchUp) เป็นโปรแกรมกราฟิกที่สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลอง(Model) เช่น ชิ้นงานออกแบบตกแต่งภายในงานออกแบบภายนอก ตลอดจนการสร้างฉากที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่เป็น 3 มิติก็สามารถรองรับได้ระดับหนึ่ง โดยโปรแกรมกูเกิลสเก็ตช์อัปนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือสามารถซื้อเพื่อใช้ในรุ่น(version) ที่มีความสามารถและเครื่องมือในการใช้งานแบบมืออาชีพมากขึ้นก็ได้
- สวิชแมกซ์ (SWiSH Max) เป็นโปรแกรมสร้างแอนิเมชันที่ใช้งานซับซ้อนเหมาะสำหรับการสร้างข้อความที่เคลื่อนไหว ประกอบการทำเว็บเพจหรือข้อความสื่อบทเรียน หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์และยังสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดี สามารถใช้ผลิตสื่อมัลติมีเดีย และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
ตอบ การสร้างงานกราฟิก ในการสร้างชิ้นงานที่ต้องมีการวาดร่างหรือตกแต่งตัดต่อรูปภาพหรือการขึ้นรูปภาพต่างๆซึ่งโปรแกรมงานด้านกราฟิก
- อะโดบีโฟโตซ็อป (Adoba Photoshop) เป็นโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ การนำภาพถ่ายมาตกแต่งเป็นภาพใหม่ เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นงานประเภทการออกแบบโปสเตอร์ การทำจุลสาร ปกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์
- กูเกิลสเก็ตช์อัป (Google SketchUp) เป็นโปรแกรมกราฟิกที่สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลอง(Model) เช่น ชิ้นงานออกแบบตกแต่งภายในงานออกแบบภายนอก ตลอดจนการสร้างฉากที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่เป็น 3 มิติก็สามารถรองรับได้ระดับหนึ่ง โดยโปรแกรมกูเกิลสเก็ตช์อัปนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือสามารถซื้อเพื่อใช้ในรุ่น(version) ที่มีความสามารถและเครื่องมือในการใช้งานแบบมืออาชีพมากขึ้นก็ได้
- สวิชแมกซ์ (SWiSH Max) เป็นโปรแกรมสร้างแอนิเมชันที่ใช้งานซับซ้อนเหมาะสำหรับการสร้างข้อความที่เคลื่อนไหว ประกอบการทำเว็บเพจหรือข้อความสื่อบทเรียน หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์และยังสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดี สามารถใช้ผลิตสื่อมัลติมีเดีย และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
2. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
ตอบ การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่
อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร
มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้า ก็มีงานขายสินค้า
การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์
ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะงานมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษา
รูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็น
ซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กัน
ในทางธุรกิจ เช่นระบบทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงาน
อุตสาหกรรม บริหารการเงินและการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้น
จึงยังมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ
อีกมากมาย
ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะงาน ที่นิยมกันแพร่หลายจะอยู่ในรูปเกม
บางประเภทสามารถต่ออุปกรณ์พิเศษเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเช่น ก้านควบคุม
ซอฟต์แวร์เกมแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์เกมจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบและเหมาะสม
ข้อดีของซอฟต์แวร์เฉพาะงานคือ
1. มีประสิทธิภาพสูง
2. สามารถทำงานได้ดี
3. ได้ระบบตรงตามความต้องการ 100%
4. สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการพัฒนาได้มากกว่า
ข้อเสียของซอฟต์แวร์เฉพาะงานคือ
1. ต้นทุนในการพัฒนาจะสูง และควบคุมงบประมาณได้ยาก เพราะองค์กรต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้โปรแกรมเมอร์
2. ค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาโปรแกรม จะสูงแปรผันตามการลงทุน ในการพัฒนาโปรแกรม เพราะจะต้อง ว่าจ้างโปรแกรมเมอร์
ตอบ การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่
อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร
มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้า ก็มีงานขายสินค้า
การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์
ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะงานมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษา
รูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็น
ซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กัน
ในทางธุรกิจ เช่นระบบทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงาน
อุตสาหกรรม บริหารการเงินและการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้น
จึงยังมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ
อีกมากมาย
ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะงาน ที่นิยมกันแพร่หลายจะอยู่ในรูปเกม
บางประเภทสามารถต่ออุปกรณ์พิเศษเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเช่น ก้านควบคุม
ซอฟต์แวร์เกมแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์เกมจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบและเหมาะสม
ข้อดีของซอฟต์แวร์เฉพาะงานคือ
1. มีประสิทธิภาพสูง
2. สามารถทำงานได้ดี
3. ได้ระบบตรงตามความต้องการ 100%
4. สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการพัฒนาได้มากกว่า
ข้อเสียของซอฟต์แวร์เฉพาะงานคือ
1. ต้นทุนในการพัฒนาจะสูง และควบคุมงบประมาณได้ยาก เพราะองค์กรต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้โปรแกรมเมอร์
2. ค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาโปรแกรม จะสูงแปรผันตามการลงทุน ในการพัฒนาโปรแกรม เพราะจะต้อง ว่าจ้างโปรแกรมเมอร์
เลขฐานสองเกี่ยวข้องอะไรกับซอฟต์แวร์
1. เลขฐานสองเกี่ยวข้องอะไรกับซอฟต์แวร์
ตอบ สำหรับการประมวลผลในคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบเลขฐานสอง ที่ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ เลข 0 และเลข 1 เพราะภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรอิเลคทรอนิกส์ ที่มีหลักการทำงานแบบดิจิตอล และใช้ระดับแรงดันไฟฟ้า 2 ระดับ คือ สวิตซ์เปิด (on) กับสวิตซ์ปิด (off) โดยกำหนดให้สถานะของการ "เปิด" แทนด้วยเลข "0" และ"ปิด" แทนด้วยเลข "1" ซึ่งเลขฐานสองจำนวนหนึ่งหลัก เราเรียกว่า "บิต"
เลขฐานสอง
คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)
Software ( ซอฟต์แวร์ )
Software ( ซอฟต์แวร์ )
เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกัน
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
สรุป
ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทำงาน และเราไม่สามารถจับต้องได้
ชนิดของซอร์แวร์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
การหาค่าที่มากที่สุดของจำนวนสามจำนวน ( Flowchart )
การหาค่าที่มากที่สุดของจำนวนสามจำนวน
เริ่มต้น ↺
1. กำหนดค่าจำนวนแรก
2. กำหนดค่าจำนวนที่สอง
3. กำหนดค่าจำนวนที่สาม
4. ถ้า จำนวนแรก > จำนวนที่สอง ทำ
4.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนแรก
มิฉะนั้น
4.2 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สอง
5. ถ้า จำนวนที่สาม > จำนวนที่มากที่สุด ทำ
5.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สาม
6. แสดงผลลัพธ์จำนวนที่มากที่สุด
จบ
ในการเขียนผังงาน ต้องรู้จักเลือกใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม รวมถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนผังงานที่เรียกว่า “ Flow Chart Template “ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยให้การเขียนผังงานสะดวกและรวดเร็ว
ในการเขียนผังงานนี้จะเขียนตามขั้นตอนและวิธีการประมวลผลที่ได้ทำการวิเคราะห์งานเอาไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของการทำงาน เพื่อจัดภาพของผังงานให้เป็นมาตรฐานง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้การเขียนโปรแกรมจากผังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเขียนผังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันจะใช้ลำดับในการเขียนผังงานดังนี้
เริ่มต้น ↺
1. กำหนดค่าจำนวนแรก
2. กำหนดค่าจำนวนที่สอง
3. กำหนดค่าจำนวนที่สาม
4. ถ้า จำนวนแรก > จำนวนที่สอง ทำ
4.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนแรก
มิฉะนั้น
4.2 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สอง
5. ถ้า จำนวนที่สาม > จำนวนที่มากที่สุด ทำ
5.1 กำหนดค่าจำนวนที่มากที่สุดให้เท่ากับจำนวนที่สาม
6. แสดงผลลัพธ์จำนวนที่มากที่สุด
จบ
ในการเขียนผังงานนี้จะเขียนตามขั้นตอนและวิธีการประมวลผลที่ได้ทำการวิเคราะห์งานเอาไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของการทำงาน เพื่อจัดภาพของผังงานให้เป็นมาตรฐานง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้การเขียนโปรแกรมจากผังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเขียนผังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันจะใช้ลำดับในการเขียนผังงานดังนี้
1. การกำหนดค่าเริ่มต้น เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นบางตัว ได้แก่ ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวนับ หรือตัวแปรที่เป็นตัวคำนวณผลรวมต่างๆ
2. การรับข้อมูลเข้า เป็นการรับข้อมูลนำเข้ามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลผล แล้วนำค่ามาเก็บไว้ในตัวแปรใด ๆ ที่กำหนดเอาไว้
3. การประมวลผล เป็นการประมวลผลตามที่ได้มีการกำหนด หรือเป็นการคำนวณต่างๆ ซึ่งจะต้องทำทีละลำดับขั้นตอนและแยกรูปแต่ละรูปออกจากกันให้ชัดเจนด้วย
4. การแสดงผลลัพธ์ เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากการคำนวณหรือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือค่าจากตัวแปรต่างๆ ซึ่งการแสดงผลลัพธ์นี้มักจะกระทำหลังจากการประมวลผล
หรือหลังจากการรับข้อมูลเข้ามาแล้ว
Flowchart
Flowchart ( ผังงาน )
ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm, Workflow, Process เป็นเครื่องมือใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก โดยสัญลักษณ์ Flowchart แสดงถึงการทำงานลักษณะต่างๆ เชื่อมต่อกันFlowchart ถูกใช้ในการออกแบบ เพื่อช่วยให้เห็นภาพสิ่งที่เกิดขึ้นและช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานและบางทีอาจช่วยหาข้อบกพร่องภายในงานอีกด้วย เช่น ปัญหาคอขวด (ปัญหาที่มีงานไปกองที่ส่วนใดส่วนหนึ่งและส่วนอื่นเกิดการรอ) เป็นต้น
ประวัติของ Flowchart ☺
เริ่มต้นครั้งแรก Flowchart ถูกนำเสนอโดย Frank Gilbreth เป็นสมาชิกของ American Society of Machanical Engineers (ASME) ในปี 1921 และถูกพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จนออกเป็นเวอร์ชั่นที่เป็นมาตรฐานในปี 1947 ที่เราใช้กันมาถึงปัจจุบัน
ในปี 1949 Herman Goldstine และ John von Neumann ได้นำมาพัฒนาต่อเนื่องให้นำไปประยุกต์ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program) และการเขียนโปรแกรม (Computer Programming) ต่อมาได้ถูกรับรองโดยวิศวกรของ IBM และใช้ต่อจนถึงปัจจุบันเช่นกัน รูปด้านล่างแสดงสัญลักษณ์ของ Flowchart ในขณะนั้น
ประเภทของผังงาน (Flowchart) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ☺
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานในระบบ
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานแสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม
1.ผังงานระบบ (System Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงถึงอุปกรณ์รับและส่งข้อมูล สื่อ วิธีประมวลผล แสดงผลลัพธ์ และลำดับขั้นการทำงาน
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงาน เพื่อวางแผนหรือรวบรวมความคิดการเขียนโปรแกรม โปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอน (Step By Step) การเขียนผังงานโปรแกรมจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลงได้ ทำให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและถูกต้อง รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์จุดบกพร่องที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ปัญหาคอขวด (Bottle Neck) ที่เกิดจากการเขียนโปรแกรม
การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง
คือ การโปรแกรมที่ประกอบด้วยกระบวนการ 3 รูปแบบ ได้แก่ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) มีตำราหลายเล่มแยกการเลือกตามเงื่อนไขเป็น if กับ select case หรือ การทำซ้ำแยกได้เป็น do while กับ do until แต่ก็ยังนับได้ว่าการเขียนโปรแกรมโครงสร้างมีกระบวนการเพียง 3 รูปแบบ และมีแนวคิดใหม่ว่าการโปรแกรมไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming หากศึกษาในรายละเอียดก็พบว่าทุกภาษายังจำเป็นต้องมีกระบวนการ 3 รูปแบบนี้อยู่เป็นพื้นฐาน เช่น Microsoft Access ที่มีการใช้งาน Tool หรือ wizard ให้ใช้ แต่ก็ยังต้องมีการลง code ใน module ซึ่งต้องมีประสบการณ์ในการโปรแกรมแบบ Structure Programming เพื่อควบคุม Object ให้ทำงานประสานกันได้
1. การทำงานแบบตามลำดับ
(Sequence)
รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข
(Decision or Selection)
การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3. การทำซ้ำ
(Repeation or Loop)
การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการใช้ผังงาน
1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)
2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)
3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)
4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)
5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
สรุป ❤
ผังงาน เป็นเครื่องมือแสดงขั้นตอน หรือกระบวนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในสัญลักษณ์จะมีข้อความสั้น ๆ อธิบายข้อมูลที่ต้องใช้ ผลลัพธ์ หรือคำสั่งประมวลผลของขั้นตอนนั้น
สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานในระบบ
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานแสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม
และประกอบด้วยกระบวนการ 3 รูปแบบ ได้แก่
1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence)
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision)
3. การทำซ้ำ(Loop)
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานแสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม
และประกอบด้วยกระบวนการ 3 รูปแบบ ได้แก่
1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence)
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision)
3. การทำซ้ำ(Loop)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)